Monday, November 20, 2017

หัวใจสำคัญของแนวทางปฏิวัติมดแดงล้มช้าง


หนึ่ง การพัฒนาศักยภาพของประชาชน คือหัวใจสำคัญที่สุดของกระบวนการปฏิวัติ (ปัจจัยสู่ชัยชนะ) และผลของการปฏิวัติ (ชัยชนะ) ที่ยั่งยืน โดยปัจจัยที่เอื้อให้การพัฒนาและการประสพชัยชนะได้อย่างแท้จริงและรวดเร็ว คือ ความไม่กลัว ความฉลาดเท่าทันเกมเผด็จการ และการใช้ความได้เปรียบทุกรูปแบบในการสร้างความเปลี่ยนแปลง

สอง การใช้จุดแข็งสู้จุดอ่อนของเผด็จการ กล่าวคือ ต้องใช้ความได้เปรียบเช่น จำนวนอันมหาศาลของประชาชนผู้ถูกกดขี่ ความชอบธรรมของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง หลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก สันติวิธีที่จะทำให้อำนาจปืนและอำนาจเถื่อนเสื่อมสมรรถภาพ เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดที่ช่วยเผยแพร่ความรู้ ความจริง ข่าวสาร และการประสานงาน ตลอดจนความได้เปรียบทางชัยภูมิ

สาม การยืนบนหลักการสากล อันได้แก่ หลักประชาธิปไตยที่แท้จริงและสมบูรณ์ หลักสิทธิมนุษยชน สันติวิธี และความจริง คือสิ่งดีที่ปวงชนปฏิวัติต้องยึดถือและพัฒนาตัวเองให้สอดคล้อง ในขณะที่จะต้องต่อต้าน ขจัด หรือทำลายสิ่งที่ตรงข้ามในทุกมิติที่ทำได้ บนสติและความหยั่งรู้ว่า ปวงชนต้องทำตัวหรือยกระดับคุณภาพของตนให้สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นเป้าหมายของการปฏิวัติด้วย (เทียบเคียงได้กับหัวใจของศาสนาพุทธ คือ ทำความดี ละเว้นความชั่ว และทำใจให้ปราศจากกิเลส)

สี่ ประชาชนจะต้องเข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้าง (ระบอบ) ที่ครอบงำ เอารัดเอาเปรียบ กดขี่ ข่มเหง และยัดเยียดความทุกข์ให้พวกเขาในทุกมิติ คือ การเมืองการปกครอง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา ศาสนา สาธารณสุข และการต่างประเทศ โดยต้องเข้าใจว่า ตัวบุคคล โครงสร้างองค์กรหรือสถาบันต่าง ๆ กลไกและเครื่องมือต่าง ๆ ความเชื่อและวิถีปฏิบัติที่ครอบงำ (วัฒนธรรม) และจิตสำนึกที่ถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นที่ได้เปรียบหรือเอาเปรียบ และจะต้องช่วยกันยกระดับคนรอบข้าง ให้เป็นผู้รู้และเข้าใจอย่างเท่าทันต่อการกดขี่และเอารัดเอาเปรียบเชิงโครงสร้างเหล่านั้น เพื่อเป็นฐานสำหรับการเคลื่อนไหวต่อสู้ในทุกมิติ

ห้า ความสำเร็จของการปฏิวัติประชาชนในยุคปัจจุบัน ต้องอยู่บนความพร้อมของปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่สานสอดกัน คือ มวลชนที่พร้อมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ อุดมการณ์ร่วมและแนวทางที่เป็นเอกภาพ ขบวนนำที่มีความชอบธรรมและจริงจังต่อระบอบประชาธิปไตย กองทัพที่ต้องรับใช้ประชาชน และมหามิตรประเทศที่พร้อมช่วยเหลืออย่างจริงจัง

หก เป้าหมายของการปฏิวัติ เป็นไปตามยุทธศาสตร์รับ ยัน รุก และรุกฆาต ในแต่ละมิติตามภาววิสัยที่เป็นจริง แต่จะต้องมุ่งให้ประชาชนตาสว่างทั้งแผ่นดิน ต่อต้านขัดขืนสิ่งชั่วร้ายในทุกมิติ แล้วไม่ยอมรับให้ผู้ปกครองเถื่อนปกครองอีกต่อไป และเมื่อความพร้อมมาถึง ประชาชนจะยึดอำนาจคืนมา เพื่อจัดการสร้างชาติใหม่บนหลักการในข้อ สาม ข้างต้น (ล้มช้าง สร้างชาติ)

เจ็ด การปฏิวัติประชาชนมดแดงล้มช้าง ยึดหลักการใช้พลังธรรมอันมหาศาลขับไล่อธรรม หรือเอาน้ำดีมหาศาลไล่น้ำเสีย เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียอย่างควบคุมไม่ได้และยืดเยื้อเกินไป เช่นการสังหารประชาชนมือเปล่าอย่างโหดร้าย หรือสงครามกลางเมือง หรือการแทรกแซงของต่างประเทศ บนความเสียหายของชาติ

แปด การปฏิวัติประชาชนมดแดงล้มช้าง ถือเป็นการแก้ปัญหาในบ้านของคนไทยทุกคน ที่เป็นพี่น้องร่วมชาติ ไม่ใช่ศัตรูต่างด้าวที่ต้องเข่นฆ่ากันให้อาสัญ ดังนั้น เป้าหมายจึงอยู่ที่การสร้างสภาวะที่ทำให้คนที่ทำผิดได้เกิดสำนึกแล้วกลับตัว เพื่อก้าวร่วมกันต่อไป ดังนั้น การคิดสร้างสรรค์ การปรับจิตสำนึก การให้ความเป็นธรรม การเคารพหลักสิทธิมนุษยชน และการใช้อารยวิธี จึงเป็นสิ่งที่ขบวนปฏิวัติต้องยึดถือด้วยความรับผิดชอบต่อชะตากรรมของบ้านเกิดเมืองนอนร่วมกันของประชาชนทุกคน

เก้า การลุกขึ้นประกาศจุดยืนไม่ยอมรับการปกครองอันมิชอบของเครือเผด็จการทรราชย์ของคนไทยทั่วประเทศในทุกจังหวัด คือวันดีเดย์ และวันนั้น จะถูกกำหนดด้วยความพร้อมของทั้งขบวนในข้อห้า และภาววิสัยที่เอื้อให้เกิดความสำเร็จที่ยั่งยืนบนความเสียหายที่น้อยที่สุด

สิบ ชัยชนะที่แท้จริงที่เกิดขึ้นได้ทุกวัน คือการเปลี่ยนให้ประชาชนเป็นผู้รู้และเข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้าง แล้วยกตนขึ้นเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้วยวิถีปฏิวัติในแต่ละวันที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อประชาชนคือผู้ที่ทำตัวสอดคล้องกับหลักการการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนได้จนเป็นนิสัยประจำชาติแล้ว ความสำเร็จที่ยั่งยืนจึงจะได้รับการประกันในที่สุด


piangdin

Saturday, November 18, 2017

ปฏิญญาปวงชน ว่าด้วยรัฐประธิปไตยไทย


ปฎิญญาแห่งชาติของประชาชน
ว่าด้วยรัฐประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย

The People’s National Declaration of a Democratic State of Thailand

ร่างฉบับแก้ไขครั้งที่สอง

ประเทศไทยในยุคศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และการเมือง ที่พร้อมสำหรับการเป็นรัฐประชาธิปไตยสมบูรณ์อย่างถาวร เพราะปวงชนชาวไทย ส่วนใหญ่เข้าใจในหลักการพื้นฐานสำหรับการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ว่าอำนาจอธิปไตย อันเป็นอำนาจสูงสุดนั้นเป็นของประชาชน หาใช่ของกษัตริย์หรือกลุ่มอภิสิทธิชนใด ๆ ไม่ นอกจากนี้ มหาประชาชนยังได้รับรู้ถึงปัญหาเชิงโครงสร้าง ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ที่มีพัฒนาการไปในทางทำลายล้าง และนำไปสู่ความตกต่ำของประเทศ จนกลายไปสู่การปกครองแบบเผด็จการซ่อนรูปดังที่ประจักษ์แก่สายตาประชาชนทั่วไปในศกนี้ โดยสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของประชาชนได้ แถมถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางของปัญหาความขัดแย้งเสียเอง โดยมีสถาบันทหารและตำรวจ สถาบันการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจและสื่อ กลุ่มนักวิชาการและหน่วยงานอิสระหัวเอียงขวา และชนชั้นศักดินาหรืออภิสิทธิชน ผู้ซึ่งได้ปรากฎชัดออกมาจากการเลือกตั้งในระยะสองทศวรรษหลังนี้ ว่าเป็นคนส่วนน้อยของประเทศนั้น สามารถใช้อำนาจพิเศษ แย่งชิงหรือปล้นอำนาจ ของประชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก ทำให้ประเทศชาติเสียหายอย่างมหาศาล ดังเห็นได้จากหนี้สินที่รัฐบาลเผด็จการซ่อนรูปของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งอยู่ภายใต้ การเป็นประมุขของกษัตริย์ภูมิพลและพระราชินีสิริกิตต์ ที่สร้างหนี้สินให้กับประเทศ เกือบหนึ่งล้านห้าแสนล้านล้านบาท (1,500,000,000,000 บาท) ภายในเวลาแค่สองปีกว่า ๆ โดยหว่านเงินไปกับโครงการที่หาประโยชน์ อันจับต้องได้หรือมีผลระยะยาวไม่ได้ และได้ทุ่มงบประมาณให้กับงานของกองทัพ ที่สร้างความวุ่นวายในประเทศและกับประเทศข้างเคียงบังหน้า แต่โดยเนื้อแท้แล้ว เพื่อตอบสนองต่อการปันผลประโยชน์จากเงินภาษีอากรของปวงชน และเพื่อการสร้างสถานการณ์ อันนำไปสู่บิดเบือนความจริงของการลุกฮือขึ้นมาทวงอำนาจของประชาชนหัวก้าวหน้า และการให้โอกาสกองทัพในการใช้สถานการณ์เข่นฆ่าประชาชนจากช่องโหว่ในกฎหมายที่อาศัยความสงบแห่งชาติมาอ้าง เพื่อใส่ร้ายให้ปวงชนผู้บริสุทธิ์กลายเป็นผู้ก่อการร้าย และภายในสถานการณ์ที่ชาติเสียหายแสนสาหัสเหล่านี้ กษัตริย์ไทยกลับกลายเป็นราชวงศ์ที่รวยที่สุดในโลก มีทรัพย์สินถึงสามหมื่นล้านเหรียญ หรือประมาณเก้าแสนล้านล้านบาท (900,000,000,000 บาท) ติดต่อกันหลายปี โดยมีทรัพย์สินรวมห่างจากอันดับสองถึงหมื่นล้านเหรียญ หรือประมาณสามหมื่นล้านบาท พร้อมกันนี้ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนส่วนใหญ่ก็ได้ถ่างออกไปอย่างมหาศาล สร้างความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า จากการที่รายได้หดหาย แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ เกิดการแตกแยกของประชาชนในชาติ โดยการโหมกระพือของสื่อแห่งรัฐและสื่อเอกชนที่ไร้จรรยาบรรณ ที่ได้่สร้างกระแสความเกลียดชัง และต่อต้านความเจริญงอกงามของระบอบประชาธิปไตย โดยที่กลไกของรัฐที่ดูแลสื่อสารมวลชนก็รู้เห็นเป็นใจ ด้วยการปล่อยให้สื่อฝ่ายขวา เพาะเชื้อมะเร็งร้าย ให้กับสังคมโดยสะดวก ในขณะเดียวกันกับที่ พวกเขาใช้อำนาจจากกฎหมายหมิ่นกษัตริย์ และ พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ เพื่อปิดหูปิดตาประชาชนอย่างบ้าคลั่งในการไล่ปิดสื่อทุกรูปแบบ ของฝ่ายประชาชนหัวก้าวหน้าหรือเหล่าเสรีชน ผู้ต้องการเสรีประชาธิปไตยอันสมบูรณ์
บัดนี้เหล่ามหาประชาชนต้องการแสดงออกถึงเจตนารมย์อันชัดแจ้งว่า ได้เข้าใจปัญหาของชาติ ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาหลายทศวรรษ อันถูกทำให้เกิดขึ้นโดยการกระทำของกลุ่มคนข้างต้น ที่ทำตัวเป็นปฎิปักษ์ต่อการพัฒนาเสรีประชาธิปไตยทุกรูปแบบ และเป็นการขัดกับหลักสากล แห่งความมีเสรีภาพ เสมอภาค และบรรยากาศแห่งการมีสันติสุขร่วมกันฉันท์พี่น้องร่วมชาติ รวมถึงการอยู่ดีกินดี ของมวลมหาประชาชนไทย โดยพวกเขาได้ปล้นอำนาจอธิปไตยไป ด้วยอำนาจสั่งการที่อยู่ เหนือระบบกฎหมายและศีลธรรม จนทำให้กลายเป็นการปกครองที่ ไม่ใช่ของประชาชนที่เอื้อประโยชน์แก่มหาชนอย่างแท้จริง ดังปรากฎชัดว่า คณะผู้ทรยศต่อระบอบ ประชาธิปไตยเหล่านี้ ได้ดำเนินการปล้นอำนาจจากประชาชนด้วยการรัฐประหาร แล้วเขียนกฎหมายกบถ พร้อมตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ขึ้นมาสานต่อการบีฑาและย่ำยี ทุกความพยายาม และทุกตัวแทนของประชาชนที่ใฝ่ประชาธิปไตยอันสมบูรณ์ ทำให้ตัวแทนประชาชน และประชาชนทั้งหลาย ที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยมือเปล่า ถูกกดขี่และฆ่าฟันในระบอบปัจจุบัน และผลของระบอบเผด็จการซ่อนรูปนี้ ก็ไม่ได้ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชนแต่ประการใด
ด้วยเหตุดังกล่าวทั้งหมด ปวงชนชาวไทยทั้งหลาย จึงได้ลงนามต่อท้ายปฎิญญาฉบับนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตนารมย์ในการวางหลักการสำหรับการก้าวไปข้างหน้าของประเทศไทย
โดยมีรายละเอียดที่จักขอประกาศให้คนไทยรุ่นปัจจุบันและรุ่นลูกหลานสืบต่อไป เพื่อได้รับรู้ และรับเอาไว้เป็นหลักการสำหรับการจัดการบริหารอำนาจอธิปไตยและกลไกของรัฐไทย สืบต่อไปชั่วกัลปาวสานต์ ดังนี้
  1. พลเมืองทุกหมู่เหล่าของชาติไทย ต้องอยู่รวมกันแบบรัฐชาติเดียว และถึงแม้จะมีความหลากหลายด้านชาติพันธุ์กำเนิด ศาสนาหรือลัทธิความเชื่อ ฯลฯ คนทุกหมู่เหล่าต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยรัฐ ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ด้วยมาตรฐานความเป็นธรรม เพื่อสร้างความผาสุกร่วมกัน โดยไม่มีการแตกแยกหรือล่วงเกินระหว่างกัน หรือใช้ความรุนแรงเหนือกฎหมาย สำหรับการแก้ปัญหาหรือข้อขัดแย้งใด ๆ ทั้งสิ้น
  2. ในกิจการปกครองประเทศทุกด้าน จักต้องผ่านกระบวนการของอำนาจอธิปไตย ที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างสมบูรณ์ ปราศจากการแทรกแซง หมกเม็ดโดยสถาบันหรือองค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งในตัวบทกฎหมายและการปฎิบัติ
  3. บ้านเมืองต้องได้รับการประกันให้เกิดเสรีภาพและความเสมอภาค บนบรรยากาศแห่งความเป็นพี่น้องภายใต้วัฒนธรรมอันดีงามของไทย และวัฒนธรรมใหม่อันเป็นอารยะสากล ที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชนสากล พร้อมกับความเป็นนิติรัฐ ที่ทุกคนเท่าเทียมกันในฐานะมนุษย์และพลเมืองภายใต้กฎหมาย
  4. การพัฒนาของประชาธิปไตยไทย ต้องให้ผ่านขั้นตอนทางประชาธิปไตยภายใต้กฎหมาย ที่อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญที่เป็นไปตามเจตนารมย์ในปฎิญญkนี้ โดยไม่มีข้อยกเว้นหรือ การบิดเบือนในรูปแบบใด ๆ ทั้งสิ้น อำนาจและผลประโยชน์ต้องเป็นของและเป็นไปเพื่อประชาชนโดยแท้จริง
  5. สถาบันกษัตริย์ต้องหลุดพ้นจากการเกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตย หรือมีอิทธิพลใด ๆ ต่อระบบหรือกลไกทุกอย่างในสังคมอย่างสิ้นเชิง และจะมีตัวแทนใด ๆ ไปยุ่งเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย และกิจกรรมของประชาชนไม่ได้โดยเด็ดขาด ระบบทุนผูกขาดและกลไกอันไม่เป็นประชาธิปไตยที่ครอบงำประเทศ ต้องถูกทดแทนด้วยระบบที่ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากร การบริหารเงินภาษี และจากการใช้อำนาจของตัวแทนประชาชนสูงสุดด้านบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
  6. การปฎิวัติหรือรัฐประหารโดยกำลังกองทัพเป็นสิ่งต้องห้าม จะต้องไม่เกิดขึ้นอีกด้วยเหตุใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ก่อการจะต้องโทษในฐานะกบถ และไม่สามารถอ้างการเป็นรัฐถาธิปัตย์ ด้วยวิธีหรือเหตุใด ๆ ทั้งสิ้น
  7. การยุบพรรคการเมืองจะกระทำไม่ได้ด้วยวิธีการใดทั้งสิ้น และการตั้งกรรมการอิสระใด ๆ จะกระทำโดยบุคคลผู้ใช้อำนาจ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมิได้ ผู้เข้ารับตำแหน่งทางการเมืองและกิจการของรัฐ กินเงินเดือนภาษีประชาชน ที่มียศขั้นตั้งแต่ระดับเก้าหรือเทียบเท่าขึ้นไป ต้องผ่านการตรวจสอบและยอมรับ จากตัวแทนจากรัฐสภาก่อนรับตำแหน่ง
  8. ประมุขสูงสุดผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งสามฝ่าย ต้องมาโดยการเลือกตั้ง ของประชาชนโดยทางตรงหรือทางอ้อมเท่านั้น จะใช้วิธีการอื่นใดมิได้ และบุคคลในตำแหน่งสำคัญ ๆ ต้องได้รับการตรวจสอบ และอนุมัติจากตัวแทนประชาชนก่อนเสมอ
  9. สื่อสารมวลชน คือแสงไฟที่ส่องสว่างสะท้อนภาพความจริงของสังคม เพื่อเสริมให้ประชาชนและกลไกต่าง ๆ ในประเทศเกิดปัญญา สื่อสารมวลชนที่ดีต้องถือหลักแห่งการเสนอข้อมูลจากทุกด้าน ไม่มีอคติ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หรือถูกกลุ่มผลประโยชน์ใดบงการ รัฐจักต้องประกันความมีเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูล แต่ให้มีการควบคุมโดยกลไกของรัฐและประชาชน ที่ถือจรรยาบรรณอันชัดเจนเป็นหลัก สำหรับการพิจารณา ควบคุม และกำกับการทำงานของสื่อ
  10. การศึกษาและการวิจัยเพื่อพัฒนาบุคลากรและประเทศชาติ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการเป็นรากฐาน และหัวใจของการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และท้นต่อโลก รัฐจะต้องเน้นการจัดการศึกษาและส่งเสริมการวิจัยให้มากกว่าการลงทุนด้านการ ทหาร
  11. ทหารมีหน้าที่ปกป้องประเทศเป็นหลัก ไม่มีหน้าที่ยุ่งเกี่ยวกับกิจการพลเรือน ทหารเป็นอาชีพที่มีเกียรติและบุญคุณกับประเทศ ต้องมีการพฤติกรรมให้สมกับเกียรติ แต่ทหารกินเงินเดือนจากประชาชน ดังนั้น ทหารจะต้องรับใช้ประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทหารต้องอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรี หรือประมุขฝ่ายบริหาร ผู้เป็นจอมทัพในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งด้วย และการจะประกาศศึกใด ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน จะต้องได้รับการเห็นชอบของประมุขสามฝ่าย คือฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลากรก่อน
  12. ตำรวจ เป็นผุ้ดูแลใกล้ชิดกับประชาชน และพิทักษ์ภัยให้ประชาชนในทุกอนูของประเทศ อาชีพตำรวจเป็นอาชีพมีเกียรติ และควรได้รับเกียรติเช่นเดียวกับทหาร แต่ผู้สั่งการตำรวจในทุกอำเภอและจังหวัด ต้องได้ผ่านการเลือกตั้งโดยตรง โดยประชาชน
กฎหมายรัฐธรรมนูญ และการตรากฎหมายอื่นใด ตลอดจนการดำนเนินการของรัฐ และหน่วยงานรัฐใด ๆ จักขัดแย้งหรือทำให้เกิดผลอันขัดกับหลักเบื้องต้นนี้ไม่ได้โดยเด็ดขาด เจตนารมย์ของประชาชนไทยผู้ได้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อท้ายปฎิญญาฉบับนี้ี้ ถูกร่างและขัดเกลาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ของตัวแทนปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า เพื่อวางรากฐานประเทศ เพื่อการวัฒนาถาวรของชาติ และเพื่อให้สืบเป็นมรดกถาวรไปยังลูกหลานไทยในอนาคต เพื่อเป็นหางเสือและเสาหลักสำหรับการพัฒนาประเทศตลอดไปตราบนานแสนนาน

เมื่อได้อ่านทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระข้างต้น และเห็นด้วยกับข้อความดังกล่าวทุกประการแล้ว บรรดาข้าพเจ้าทั้งหลาย จึงขอลงลายมือชื่อไว้เป็นประจักษ์พยานสืบต่อไป 
ปวงชนชาวไทย

Friday, November 17, 2017

จะช่วยขับไล่เผด็จการได้อย่างไร?

สิ่งที่ประชาชนควรต้องทำ.... เพื่อขับไล่เผด็จการด้วยวิธีอหิงสาและอารยะขัดขืน


เขียนไว้ตั้งแต่สมัยอภิสิทธิ์อยู่ในตำแหน่ง

วันนี้... ใช้ได้ไหมเนี่ย??

ประชาชนที่เชื่อว่า ระบอบประชาธิปไตยไทยมันถูกบิดเบี้ยว และสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และมาเป็นหัวหนองที่ออกพิษจนเกิดเจ็บปวดไปทั่วตัวหลังจากการรัฐประหารเมื่อปี 49 นั้น เป็นสิ่งยอมรับให้เกิดขึ้นอีกต่อไปไม่ได้แล้ว ต้องออกมาครับ ลุกขึ้นยืนแล้วเดินไปเรียงกันให้คนที่เป็นฝ่ายอำมาตย์ทุกเหล่าได้เห็น ให้ถือเป็นวาระประชาธิปไตยแห่ง

ยุคพวกเรา จงนัดกันว่า เราทุกคนที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบนี้ จะลุกขึ้นมาแสดง ตัวให้เห็น จะไม่รุนแรง จะไม่ก้าวร้าว แต่จะเริ่มต้นด้วยการเดินไปรวมตัวกันที่กรุงเทพฯ มหานคร หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยนัดหมายเวลากันผ่านแกนนำ เช่น

- ปิดไฟทั่วประเทศ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

- นัดหยุดงาน เช่น แท็กซี่ หากทำได้

นัดหยุดงานแล้วไปจอดกันที่ใดที่หนึ่ง

ให้การจราจรมันหยุดไปเลย คนจะได้เข้าใจว่า

การที่ทุกคนขับรถไปบนถนนแห่งใดแห่งหนึ่ง

แล้วต่อแถวก้นนั้น มันไม่ได้ผิดกฎหมาย

- นัดกันใส่เสื้อสีแดง คาดแถบดำ ทุกวันตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป

-

พ่อค้าแม่ค้า นัดหยุดขายข้าวของในจุดที่เคยให้บริการราชการหรือหน่วยงานรัฐบาล

-

นัดกันเอารูปถ่ายนายอภิสิทธิ์ หรือคนที่ท่านไม่ชอบ คนที่ทำร้ายประชาธิปไตย

ไปกองรวมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่่ง หากทำได้ทุกจังหวัดก็ยิ่งดีครับ

-

เอารถยนต์ไปจอดขวางหน้าที่ทำงานของคนที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตย

โดยนัดเวลาให้พร้อมกันนะครับ

นี่รวมทั้งพวกทหารทีชอบเอารถถังมาแล่นบน

ถนนที่ไม่ได้มีไว้ให้ทหารมาจุ้นจ้านด้วยนะครับ

- นัดจุดประทัดพร้อมกัน ณ

เวลาใดเวลาหนึ่ง ให้ดังกึกก้องทั่วกรุงเทพฯ

หากจะจับกุม

ก็ไม่ใช่เรื่องหนักหนาครับ ให้คนจุดมีสักสามแสนคนนะครับ

จะได้ไปให้ตำรวจจับขังคุกร่วมกัน ดูสิว่า กรมราชทัณฑ์จะมีเงินพอเลี้ยง

ไหม?

- แจกใบปลิว เกลื่อนทั่วเมือง เหมือนแมลงตั๊กแตนที่ไปไหน ต้องได้รับ

ความสนใจน่ะครับ

เหล่านี้ เป็นวิธีอหิงสานะครับ เป็นสิทธิที่ไม่ผิดกฎหมายใด ๆ หรือไม่ได้

ผิดชนิดเป็นกฎหมายอาญา เป็นวิธีการบอกให้เผด็จการรู้โดยไม่ต้องเผา

บ้านเผาเมือง หรือทำร้ายบ้านเมืองเกินไป


การจะทำอย่างนี้ ต้องทำไปพร้อมกับการเรียกร้องสิ่งที่เราต้องมี ต้องได้อื่น ๆ

โดยทำให้สอดคล้องกัน และต้องมีการกดดันและยุทธวิธีที่ชัดเจน

อย่าให้ยืดเยื้อครับ ซึ่งหากจะคิดต่อ ท่านก็คงเห็นว่า มีอะไรหลายอย่าง

ที่ต้องทำ สิ่งที่เกิดหลังการรัฐประหาร 49 ต้องถูกจัดการสะสางและล้ม

ล้าง แล้วจัดระเบียบกันใหม่ นี้รวมถึงอะไรอีกมากมาย ที่ผมไม่สามารถ

เขียนในนี้ได้โดยสะดวก


แต่การจะทำสิ่งที่เหนือกว่าการไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ออกไปนั้น มันต้องเกิด

จากข้อเรียกร้องที่ชัดเจน คนที่เกี่ยวข้องทำตามได้ และมีขั้นตอนปฎิบ้ัติ

ได้ง่ายและยอมรับได้ในระหว่างชนทุกกลุ่ม

สำคัญที่สุด เรารู้แน่ว่าฝ่ายอำมาตย์ย่อมอิดออดแน่ครับ เราต้องมีกำลัง

มีเครื่องต่อรองที่เหนือกว่า มีอำนาจที่ยิ่งใหญ่มหาศาล อันนี้ แค่จำนวน

มวลมหาประชาชนอย่างเดียวไม่พอนะครับ… ต้องมีแผนการณ์ที่ชัดเจน

ต้องสอดคล้องและมีกรอบเวลาชัดเจน

การจะผ่าตัดใหญ่ ต้องอาศัยการเตรียมการที่รอบคอบ

ต้องสะกัดจุดสำคัญไม่ให้เกิดการรวนของระบบ

ต้องให้ยาสลบหรือยาชาในเฉพาะจุดสำคัญที่จะผ่า

ฯลฯ


ใจผมน่ะ อยากคิด อยากทำ อยากเสกให้ได้ดั่งใจ

แต่วันนี้ ได้แต่ฝากความหวังไว้กับพี่น้องที่อยู่เมืองไทยแล้วครับ

งานนี้ มันไม่ง่ายเลย ผมทิ้งคำถามและแนวทางไว้ให้ผุ้ที่เกี่ยวข้อง

นำไปพิจารณานะครับ

นายกทักษิณ เคยคิดล้มล้างความจน… และจะพยายามทำให้ได้

ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยคิดมาก่อน และหากให้นายกทักษิณทำงานต่อ

ผมเชื่อว่าเขาทำได้ในระดับที่น่าทึ่งแน่นอนครับ

งานนี้ก็เหมือนกัน เราต้องกล้าคิด กล้าฝัน และกล้าทำครับ

แต่ต้องทำด้วยใจ สมอง และความเอาจริงเอาจัง บนแผนที่

ต้องเกิดจากการคิดระดมสมองอย่างรอบคอบ และคิดนอกกรอบ

วันนี้ ใครหนอจะเป็นพระเอกที่นำไปสู่การปฎิวัติที่สัมฤทธิ์ผล

ด้วยเชิงรบที่ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ หรือเสียหายใด ๆ มากเกินไป

สำหรับคนอำนาจน้อยบารมีหย่อนอย่างผม

ได้แค่คิดดัง ๆ และเป็นกำลังใจให้พี่น้องคนไทยทุก ๆ ท่านครับ

และขอภาวนาให้อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย

ช่วยคลี่คลายปมอุปสรรคเพื่อให้เมืองไทยก้าวไปสู่การอภิวัฒน์

โดยเร็วและไม่เสียเลือดเนื้อด้วยเทอญ

ปรารถนาดีเสมอ

เพียงดิน

อ. ชูพงศ์ ถี่ถ้วน (๑๗ พ.ย. ๒๕๖๐) ต่อด้วย ดร. เพียงดิน รักไทย ตอน ตาสว่าง หากไม่รวมตัวกัน ตายไปอีกชาติก็เปลี่ยนระบอบไม่ได้




อ. ชูพงศ์ ถี่ถ้วน (๑๗ พ.ย. ๒๕๖๐) ต่อด้วย ดร. เพียงดิน รักไทย ตอน ตาสว่าง ใจสว่าง
https://youtu.be/WGo_l_qSFno

ประเทศไทยในฝันแบบสังคมอารยะที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชน (บทความชนะเลิศ รางวัลที่หนึ่ง)

บทความชนะเลิศการแข่งขันบทความสร้างเสริมจิตสำนึก
ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน 2013-4

ชื่อผู้แต่ง ไม่เปิดเผย

 “มนุษย์เกิดมาเสรี แต่ทุกๆที่เขาตกอยู่ในพันธนาการ มีบางคนที่เชื่อว่าพวกเขาเป็นนายเหนือผู้อื่น แต่เขาก็เป็นทาสไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคนอื่น”

นี่คือประโยคแรกในหนังสือ “สัญญาสังคม” (The Social Contract) หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อว่า“สัญญาประชาคม” ของ ฌ็อง ฌ๊าก รุสโซ นักปรัชญาที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างที่ปรากฏเป็นคำขวัญว่า “เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ” ที่สั่นสะเทือนทั้งโลก นี่คือโจทก์ที่รุสโซกระตุ้นให้คิดทบทวนเกี่ยวกับปัญหาว่าด้วยสถานะของมนุษย์ในสังคมการเมืองที่ถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวนแห่งการกดขี่ รุสโซเชื่อว่ามนุษย์ในสภาวะธรรมชาติมีอิสระมีเสรีภาพโดยสมบูรณ์โดยไม่อยู่ใต้ผู้อื่น เป็นผลให้ทุกคนเสมอภาคกันเพราะมีสถานะอย่างเดียวกัน หรือมนุษย์มีเสรีภาพและความเสมอภาคกันตามธรรมชาตินั่นเอง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งสภาพการณ์บังคับให้ต้องยกเลิกความเป็นอยู่ตามธรรมชาติเพื่อความอยู่รอด จึงเป็นที่มาของการเกิดสังคมขึ้น เมื่อมนุษย์มาอยู่ในสังคมกลับตกเป็นทาสของสิ่งที่ตัวเองคิดค้นพัฒนาขึ้น ตกเป็นทาสของมนุษย์ด้วยกัน บางคนมีอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น มีเกียรติยศ อำนาจ มีการกดขี่บังคับ ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบ ความเจริญก้าวหน้ากลับยิ่งทำให้มนุษย์อ่อนแอลง ตกอยู่ในพันธนาการจนไม่อาจมีเสรีภาพและความเสมอภาคที่เคยมีตามธรรมชาติได้ อย่างที่รุสโซเริ่มต้นประโยคแรกในหนังสือข้างต้น เมื่อความเลวร้ายอัตคัตขัดสนทั้งปวงล้วนเกิดจากมนุษย์ในสังคมด้วยกัน ทางแก้ปัญหาของรุสโซ คือ การสร้างสัญญาประชาคม/สัญญาสังคม ซึ่งก็คือการสร้างระเบียบสังคมการเมืองใหม่ให้สมาชิกประชาคม/สังคม คือ ประชาชนมีฐานะเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดเพื่อทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากภาวะอันไม่พึงประสงค์ ได้เสรีภาพและความเสมอภาคอันเป็นแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ตลอดจนความยุติธรรม ผลประโยชน์ทั้งปวงและสันติสุขกลับคืน หลักการอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนที่รุสโซเสนอได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตยที่อารยะประเทศใช้ในปัจจุบันหรือที่รู้จักกันในนามเสรีประชาธิปไตย(Liberal Democracy)

การสร้างสัญญาประชาคม/สัญญาสังคม คือ รูปแบบหนึ่งของการสร้างสังคมอุดมคติที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพียงแต่ในสมัยของรุสโซ คำว่า สิทธิมนุษยชน(Human Rights) ยังไม่ถูกนำมาใช้ คำว่า Human Rights เริ่มใช้ครั้งแรกโดยโทมัส เพน ในงานแปล(จากภาษาฝรั่งเศสมาเป็นภาษาอังกฤษ)คำประกาศว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และพลเมือง ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นผลผลิตของการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่คำนี้ถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1947 ของสหประชาชาติ โดยการเสนอของเอเลียนอร์ รูสเวลท์ ภรรยาของประธานาธิบดีแฟรงคลิน รูสเวลท์ เป็นที่น่าสังเกตว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของความเป็นมนุษย์ที่สหประชาชาติพยายามผลักดันให้ประเทศสมาชิกนำไปเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นน่าจะได้รับอิทธิพลทางความคิดของรุสโซด้วย ดังที่ปรากฏในประโยคแรกของปฏิญญาสากล ข้อ 1 ว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมาเสรีและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิ พวกเขาถูกสร้างให้มีเหตุผลและมโนธรรมสำนึกและควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นพี่น้อง”
ไม่เพียงแต่ปฏิญญาสากลเท่านั้น แต่ยังมีหลักสิทธิมนุษยชนอีกมากมายที่สหประชาชาติได้ประกาศใช้ บางฉบับมีสถานะเช่นเดียวกับปฏิญญาสากลคือไม่มีสภาพบังคับแต่เป็นแค่แนวทางให้ประเทศสมาชิกนำไปปฏิบัติ บางฉบับมีฐานะเป็นกฎหมายที่ผูกพันประเทศภาคีสมาชิก ฉบับที่สำคัญ เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งสองฉบับรวมกันครอบคลุมสาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแทบทั้งหมดและมีส่วนที่ขยายเพิ่มเติมปฏิญญาสากลอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยได้รับเอาหลักสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติทั้ง 3 ฉบับ มาใช้ ซึ่งมีผลผูกพันให้ต้องแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้อง โดยเฉพาะ 2 ฉบับหลัง ซึ่งนับว่าน่ายินดี แต่ในทางปฏิบัติประเทศไทยยังมีความล้าหลังห่างไกลจากที่สหประชาชาติกำหนดมากพอสมควร อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีประสบการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างสัมคมอาระก่อนหน้าที่จะมีปฏิญญาสากลนานพอสมควรแต่ยังไม่บรรลุผล
สังคมไทยในอุดมคติ จาก ฝันของชาวสยาม ถึง ฝันของประชาชนเสื้อแดง
ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติต่างแสวงหาสังคมอุดมคติของตัวเอง บ้างปรากฏในรูปของการต่อสู้โดยสันติ บ้างลงเอยด้วยการปฏิวัตินองเลือด ซึ่งมีตัวอย่างมากมาย อาทิ การที่ทาสทำสงครามปลดแอกตนเองจากจักรวรรดิโรมันเมื่อกว่า 2 พันปีก่อน การปฏิวัติอังกฤษ 2 ครั้งในศตวรรษที่ 17 ครั้งแรกลงเอยด้วยการประหารกษัตริย์ ครั้งหลังลงเอยด้วยอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงถาวร การปฏิวัติอเมริกาครั้งแรกปลดแอกอเมริกาเป็นเอกราช ครั้งหลังปลดปล่อยทาสผิวดำเป็นอิสระ การปฏิวัติฝรั่งเศสที่สุดท้ายต้องยกเลิกกษัตริย์ไปอย่างถาวร การปฏิวัติลุกฮือของประชาชนทำให้ประเทศคอมมิวนิสต์ยุโรปตะวันออกทุกประเทศเป็นประชาธิปไตยตราบทุกวันนี้ การลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับที่ถูกเรียกว่าอาหรับสปริงทำให้หลายประเทศได้ก้าวสู่ถนนประชาธิปไตย ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการต่อสู้อีกนับครั้งไม่ถ้วนที่ไม่ถูกกล่าวถึง ไม่ถูกบันทึก ของคนเล็กๆ ทุกๆการต่อสู้กับความอยุติธรรมล้วนแล้วแต่เป็นบทพิสูจน์ได้อย่างดีว่ามนุษย์ไม่เคยหยุดแสวงหาชีวิตที่ดี สังคมการเมืองที่ดี และเป็นบทพิสูจน์ว่าธาตุแท้ของพวกเขาเหล่านั้นคือการเป็น “เสรีชน” ที่ไม่ยอมก้มหัวยอมแพ้ให้กับการกดขี่ข่มเหง ตลอดจนความอยุติธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ 

สำหรับประเทศไทยมีความพยายามสร้างสังคมการเมืองในอุดมคติที่เคารพสิทธิมนุษยชนและอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนมากว่าร้อยปี ถึงวันนี้แม้ยังไม่บรรลุผลสำเร็จได้ประชาธิปไตยสมบูรณ์แต่ก้าวมาไกลเกินกว่าจะถอยหลังกลับได้ ตราบใดที่ยังเชื่อมั่นในความก้าวหน้า ความฝันจะมีสังคมไทยอารยะที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชนต้องเป็นจริงในท้ายที่สุด

ความฝันสู่ประชาธิปไตยครั้งแรกของสยาม เกิดขึ้นเมื่อ ร.ศ. 103(พ.ศ. 2428) เมื่อคณะเจ้านายและขุนนางนำโดยพระองค์เจ้าปฤษฎางค์และคณะ ทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อรัชกาลที่ 5 ขอพระราชทานระบอบการปกครองที่มีระบบรัฐสภา กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่าระบอบการปกครองที่ดีที่สุดคือระบอบที่กษัตริย์มีอำนาจสูงสุด พระองค์ตอบสนองด้วยการสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่านการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินรวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง สุดท้ายพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ต้องลี้ภัยไปอยู่ลังกาจนกระทั่งรัชกาลที่ 5 สวรรคตจึงเสด็จกลับสยาม
ความฝันของคณะ ร.ศ. 130 เป็นความพยายามของคณะนายทหารหนุ่มแห่งกองทัพสยาม ซึ่งตระเตรียมใช้กำลังก่อการปฏิวัติล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หากทำสำเร็จก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่สถาบันกษัตริย์จะถูกยกเลิกเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ แต่พวกเขาถูกจับได้เสียก่อนเมื่อ ร.ศ. 130(พ.ศ. 2455) คณะนายทหารเหล่านั้นจึงต้องโทษติดคุกเป็นเวลาหลายปี บางคนตายในคุก แต่การเตรียมก่อการครั้งนั้นไม่ได้สูญเปล่าและกลายเป็นบทเรียนให้การก่อการปฏิวัติของคณะราษฎรในอีก 20 ปี ต่อมาสำเร็จลงได้
ความฝันของคณะราษฎร : ก้าวที่หนึ่งของระบอบประชาธิปไตย สู่ ประชาธิปไตยสมบูรณ์ ระบอบประชาธิปไตยของไทยเริ่มต้นนับก้าวที่หนึ่งเมื่อคณะราษฎรซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ข้าราชการ พลเรือน ทำการปฏิวัติเมื่อ 24 มิถุนา 2475 ล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สยามจึงเริ่มนับหนึ่งเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตามอย่างอารยะประเทศ คณะราษฎรแสดงเจตจำนงค์แน่วแน่ผ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ว่ามีเป้าหมายสร้างสังคมอุดมคติที่มีความสุขเความเจริญอย่างประเสริฐ เรียกว่า“ศรีอาริยะ” แต่การจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องสร้างระบอบการปกครองที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงมีอำนาจโดยแท้จริงเสียก่อน รวมทั้งวางหลักการเพื่อบรรลุเป้าหมายไว้เบื้องต้น 6 ประการ คือ รักษาเอกราช รักษาความปลอดภัยของประเทศ บำรุงความสุขสมบูรณ์ทางเศรษฐกิจ สิทธิเสมอภาค เสรีภาพ และการศึกษาอย่างทั่วถึง

สิ่งที่ตามมาหลังจากยึดอำนาจจากกษัตริย์ได้แล้วคือ การประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุด กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ มีสภาผู้แทนราษฎร มีรัฐบาลบริหารประเทศ ฯลฯ ตลอดจนมีการปฏิรูปทั่วทุกด้านทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมตามมามากมายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนตลอด 15 ปี ที่คณะราษฎรมีอำนาจ และสิ่งที่คณะราษฎรพยายามทำส่วนใหญ่เดินอยู่บนหนทางของประชาธิปไตยแบบสากลและสิทธิมนุษยชนที่อารยะประเทศยอมรับเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยสมบูรณ์
ความฝันของฝ่ายปฏิปักษ์ปฏิวัติ : สังคมอุดมคติที่ไม่มีประชาชน ระบอบประชาธิปไตยเพื่อไปสู่สังคมศรีอาริยะของคณะราษฎรเดินทางได้แค่ 15 ปี ก็ต้องจบลง ขบวนการปฏิปักษ์ประชาธิปไตยที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยมซึ่งสูญเสียอำนาจและผลประโยชน์จากการปฏิวัติ 2475 สามารถกลับมาทวงคืนอำนาจได้อีกครั้ง และสร้างระบอบใหม่ในอุดมคติของพวกเขาที่กลุ่มอำนาจเก่าขึ้นมาแทนที่ ประชาชนเจ้าของอำนาจตัวจริงถูกเบียดขับไปอยู่ชายขอบ จะเข้าไปเกี่ยวข้องได้เพียงรูปแบบเปลือกนอกเท่านั้น หากประชาชนเรียกร้องต้องการมากกว่านั้นก็ต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้ายจากการทำลายล้างทุกรูปแบบทั้งใช้อำนาจบังคับ ปราบปราม มอมเมาทางอุดมการณ์ ฯลฯ ขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติของฝ่ายอนุรักษ์นิยมทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของไทยล่าช้าออกไปอย่างน้อย 60 ปี
ความฝันครั้งใหม่ของประชาชน กับ ภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น จะว่าไปการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทยไม่เคยสูญสิ้น จะมีมากน้อยอ่อนแอหรือเข้มแข็งแล้วแต่เงื่อนไขแต่ละยุคสมัย บางครั้งเข้มแข็งจนสามารถได้ชัยชนะครั้งใหญ่ เช่น ขบวนการ 14 ตุลา 16, ขบวนการพฤษภา 35 เป็นต้น เพียงแต่ฝ่ายประชาธิปไตยยังไม่สามารถทำลายล้างฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตยให้สิ้นซาก เพราะเมื่อฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตยกลุ่มหนึ่งอ่อนแอลงไปก็จะมีกลุ่มใหม่ขึ้นมาแทนที่เสมอ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลอด 60 ปีมานี้ ฝ่ายประชาธิปไตยแทบไม่สามารถเข้าถึงใจกลางของปัญหาที่แท้จริงได้เลย อย่างไรก็ตาม แม้ชัยชนะของประชาชนแต่ละครั้งไม่ใช่ชัยชนะขั้นเด็ดขาด แต่ก็ทำให้เกิดความก้าวหน้าตามมาเสมอ ตัวอย่างที่สำคัญคือ หลังปี 2535 เป็นต้นมา การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยถูกยกระดับไปสู่ความต้องการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเข้มข้นขึ้น รวมทั้งยกระดับไปสู่การเรียกร้องในทางเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง การจัดสรรทรัพยากรมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งแสดงออกชัดเจนที่สุดในสมัยรัฐบาลไทยรักไทยเพราะไม่เพียงแต่มีการเรียกร้องที่เข้มข้นขึ้นเท่านั้น แต่ความสามารถของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในการตอบสองความต้องการของประชาชนมีมากขึ้นด้วย จนมีคำเรียกกันว่า “ประชาธิปไตยที่กินได้” แสดงให้เห็นว่าแม้ยังไม่ได้ประชาธิปไตยสมบูรณ์แต่ก็มีความก้าวหน้าเกิดขึ้น ประสิทธิภาพของรัฐบาลจากการเลือกตั้งในการตอบสนองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยชี้ขาดความอยู่รอดของรัฐบาลมากขึ้นทุกที สะท้อนว่า ในอนาคตข้างหน้าประชาธิปไตยอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอสนองความต้องการของประชาชน แต่ต้องได้รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากพอจะตอบสนองประโยชน์สุขแก่คนทั้งประเทศด้วย แน่นอนว่า หากระบอบประชาธิปไตยมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากพอย่อมส่งผลให้ตัวมันเองลงหลักปักฐานได้รวดเร็วและยั่งยืน
การต่อสู้อันยาวนานมีแพ้บ้าง ชนะบ้าง ก้าวหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง ครึ่งๆ กลางๆ ขาดๆ เกินๆ เหมือนคนครึ่งหลับครึ่งตื่นก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่อาจดับความฝันของคนไทยที่ต้องการประชาธิปไตยและสร้างสังคมอายะให้ยุติลงได้
การสืบทอดความฝันประชาธิปไตยสมบูรณ์ในปัจจุบัน : ประชาชนตื่นแล้วและจะไม่มีวันหลับใหลอีก นับแต่ปี 2548 จนถึงรัฐประหาร 2549 ฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มรัฐบาลและรัฐสภาจากการเลือกตั้ง ตุลาการภิวัฒน์ ยุบพรรคตัดสิทธิ์ ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ล้อมปราบสังหารหมู่ปี 2552-53 ฯลฯ จนถึงปัจจุบัน ใครเลยจะคิดว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจะเดินทางมาไกลถึงเพียงนี้ ต้องนับว่าไกลที่สุดนับตั้งแต่คณะราษฎรหมดอำนาจก็ว่าได้ เพราะว่าสามารถรุกล้ำเข้าไปใจกลางของปัญหาที่แท้จริงได้พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่ก้าวหน้าที่สุดคือการต่อสู้ในปัจจุบันขยายตัวไปสู่ประชาชนทุกหมู่เหล่ากว้างขวางอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนยิ่งกว่าสมัยใด และยังคงมีพัฒนาการไปได้เรื่อยๆทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ แม้ว่าต้องแลกด้วยเลือดเนื้อชีวิตและอิสรภาพของประชาชนนับร้อยนับพัน ปรากฏการณ์ดังกล่าวบางทีถูกเรียกขานว่า “ตาสว่าง” ซึ่งไม่เพียงประชาชนจะรู้ที่มาที่ไปต้นเหตุของปัญหา ไม่เพียงรู้ว่าใครสั่งฆ่าประชาชน ไม่เพียงรู้ว่าปัญหาในอดีตอันยาวนานกว่า 60 ปี มีที่มาที่ไปอย่างไร ใครบ้างคือตัวปัญหา หากแต่ประชาชนก้าวไปไกลถึงขั้นตรวจสอบความคิดของตนเองอย่างเข้มข้น ตั้งคำถามกับทุกสิ่งในชีวิตประจำวันไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือสถาบันการเมืองทุกสถาบันทั้งกองทัพ ตุลาการ องคมนตรี รัฐบาล ส.ส. ส.ว. นายกรัฐมนตรี สมาชิกพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง นักเคลื่อนไหว สื่อมวลชน นายทุน พระ นักแสดง ฯลฯ ไม่เว้นแม้แต่สถาบันกษัตริย์ก็ถูกตั้งคำถาม ถูกตรวจสอบ พูดง่ายๆว่าแทบไม่มีใครรอดพ้นจากการตรวจสอบวิพากษ์วิจารณ์ไปได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนพร้อมใจกันเรียกร้องประชาธิปไตยสมบูรณ์หรือประชาธิปไตยแบบสากลที่อารยะประเทศยึดถือ แม้ประชาชนส่วนมากไม่ได้ระบุตรงๆว่า คือ ระบอบเสรีประชาธิปไตย แต่พวกเขาต่อสู้เรียกร้องตลอดเวลาว่าต้องการประชาธิปไตยสมบูรณ์ ต้องการประชาธิปไตยแบบสากล รวมถึงเรียกร้องการเคารพสิทธิมนุษยชน เมื่อเจาะลงในรายละเอียดรูปธรรมจะพบว่า สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของประชาธิปไตยแบบสากลหรือเสรีประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น และสิ่งเหล่านั้นล้วนสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ อาทิ ประชาชนเรียกร้องอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนทุกคน รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เคารพเสียงข้างมาก ความเสมอภาค หลักนิติธรรม เคารพสิทธิและเสรีภาพ รัฐบาลที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อประชาชน เรียกร้องการตรวจสอบถ่วงดุลของอำนาจอธิปไตยทั้งสามอย่างแท้จริง ตุลาการต้องยึดโยงกับประชาชน วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง  ไม่เลือกปฏิบัติสองมาตรฐาน พิจารณาคดีเป็นธรรม ไม่ยุบพรรคตัดสิทธิ์ ไม่ใช้อำนาจนอกระบบแทรกแซง กองทัพต้องอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลพลเรือน หรือแม้กระทั่งเรียกร้องยกเลิกองคมนตรี การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์และกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตลอดจนต่อสู้เรียกร้องให้เปลี่ยนแนวคิดที่ล้าหลังเป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย ฯลฯ
โดยสรุปแล้วการต่อสู้ของประชาชนในปัจจุบันเป็นการต่อสู้เพื่อค้นหารูปแบบการปกครองที่เปิดกว้างมากพอสำหรับคนทุกคนซึ่งในที่นี้คือ ระบอบเสรีประชาธิปไตย เพราะเป็นรูปแบบการปกครองที่จะทำให้สังคมอารยะที่เคารพสิทธิมนุษยชนมีความเป็นไปได้ เพราะมีที่ว่างมากพอสำหรับให้ทุกคนใส่รายละเอียดของตัวเองลงไป เพียงแต่ต้องยอมรับหลักการพื้นฐานที่เป็นแก่นแกนของระบอบนี้เป็นเบื้องต้นเสียก่อน และรายละเอียดที่แต่ละคนแต่งเติมลงไปต้องไม่ขัดหลักการพื้นฐานที่เป็นแก่นแกนเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกามีพรรคอนุรักษ์นิยมอย่างรีพับลิกันสามารถเป็นรัฐบาลปกครองประเทศได้ ฝรั่งเศสมีพรรคคอมมิวนิสต์ได้ หลายประเทศมีพรรคแนวสังคมประชาธิปไตยที่สนับสนุนให้มีรัฐสวัสดิการ ประเทศประชาธิปไตยแท้จริงยอมรับสิทธิของคนหลากหลายเพศ ไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ฯลฯ และประการสำคัญทุกคนก็จะมีส่วนร่วมในฐานะเป็นผู้สร้างและเป็นเจ้าของสังคมอารยะร่วมกันในท้ายที่สุด
แม้ระยะเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ประชาธิปไตย จะกินเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ แต่โลกปัจจุบันก้าวหน้าไปไกลถึงขั้นที่ทำให้ระบอบการปกครองที่มุ่งควบคุม กดขี่ บังคับ ให้คนอยู่ในกรอบ ไม่สามารถทำได้เบ็ดเสร็จอีกต่อไป การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในยุคปัจจุบันจะไม่มีวันถูกทำลายได้โดยง่าย ประการสำคัญคือประชาชนต้องเดินหน้าต่อไปในหนทางของประชาธิปไตยสานต่อสิ่งที่คณะราษฎรได้ปูทางไว้ตั้งแต่ปี 2475 และมีหลายสิ่งที่ต้องทำให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์และก้าวหน้ายิ่งกว่าคณะราษฎรเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยสมบูรณ์อย่างแท้จริง
บทสรุป

การสร้างสังคมไทยอารยะที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชนให้สำเร็จ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างเงื่อนไขพื้นฐานด้วยการสร้างระบอบการปกครองประชาธิปไตยเสียก่อน แต่การจะไปถึงรูปแบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อนำไปสู่สังคมอารยะที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชนได้จะต้องปฏิรูปอย่างถึงรากทั่วทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตยและมีอำนาจได้เท่าที่ไม่ขัดหลักการประชาธิปไตย ยกเลิกองคมนตรี อำนาจตุลาการต้องยึดโยงกับประชาชน ส.. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด รัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งมีอำนาจควบคุมกองทัพ ปฏิรูปทางความคิด ยกเลิกระบบวิธีคิดที่ล้าหลัง ไม่เสมอภาค ศักดินา ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม ให้เป็นธรรมมากขึ้นให้ประชาชนมีโอกาสมากขึ้น ฯลฯ การปฏิรูปแบบถึงรากทั่วทุกด้านดังกล่าวข้างต้นเรียกอีกอย่างว่า “การสร้างสัญญาประชาคมใหม่” ที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน และการทำได้ถึงขั้นที่กล่าวมาทั้งหมดก็คือ “การปฏิวัติสังคม” นั่นเอง แต่การเปลี่ยนผ่านจากสังคมเผด็จการศักดินาอำมาตยาธิปไตยไปสู่สังคมอารยะโดยการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินดังกล่าว แม้ในทางทฤษฎีจะสามารถทำได้โดยสันติ แต่ในทางปฏิบัติจะพบว่าส่วนใหญ่จากประสบการณ์ของมนุษยชาติและของไทยเองในอดีต ผู้กุมอำนาจจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงโดยง่าย ผลจึงลงเอยด้วยการนองเลือดหรือสงครามกลางเมืองเสมอ


มนุษยชาติทุกผู้ทุกนามต่างมีความฝันถึงสังคมในอุดมคติหรือสังคมอารยะของตัวเองจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ถ้าเป็นนักคิดนักปรัชญาก็มักจะตั้งคำถามเป็นเบื้องต้นว่า ชีวิตที่ดีคืออะไร สังคมที่ดีคืออะไร แต่ถ้าเป็นคนธรรมดาทั่วไปก็คงจะถามทำนองว่าอยากมีชีวิตอย่างไร ประกอบอาชีพอะไร อยากมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างไรมากน้อยแค่ไหน อยากมีการศึกษาถึงขั้นไหน อยากมีรายได้เท่าไหร่ อยากมีครอบครัวมีลูกกี่คน ฯลฯ สำหรับผู้ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในปัจจุบันได้คำตอบแล้วว่าพวกเขาจะสร้างสังคมอารยะกันอย่างไร คำตอบคือก่อนอื่นต้องได้ระบอบการเมืองการปกครองที่เปิดกว้างมากพอที่จะสร้างสังคมอารยะเสียก่อน ระบอบที่ว่านั้นคือ เสรีประชาธิปไตย ถ้าการปฏิวัติคือหนทางเดียวที่จะได้ระบอบประชาธิปไตยเพื่อนำไปสู่การสร้างสังคมอารยะให้เป็นจริงได้ การนองเลือดที่เคยเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า อาจจำเป็นต้องเกิดขึ้นอีกจนกว่าประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์และสังคมอารยะที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชนจะเป็นจริง###

เพลงชาติไทย มีที่ไปที่มาอย่างไร?



เพลงชาติไทย เป็นชื่อเพลงชาติของสยามและประเทศไทย ประพันธ์ทำนองโดย พระเจนดุริยางค์ ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 คำร้องฉบับแรกสุดโดยขุนวิจิตรมาตรา ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังในปีเดียวกัน ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อร้องอีกหลายครั้งและได้เปลี่ยนมาใช้เนื้อร้องฉบับปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2482 (วิกิพีเดีย)

เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุดแต่ไม่เป็นทางการ และ เป็นฉบับต้องห้าม ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476 มีดังนี้ (โปรดเทียบกับเนื้อร้องฉบับราชการ พ.ศ. 2477 ในหัวข้อ เพลงชาติไทยฉบับ พ.ศ. 2475 และ พ.ศ. 2477)
   แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทองไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์บุราณลงมาร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไทสยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
   อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทยน้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชาเราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรีใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทยสถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย


.............

ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา
(บทที่ 1 และบทที่ 2)
แต่งเมื่อ พ.ศ. 2475
แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477
ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ฉันท์ ขำวิไล
(บทที่ 3 และบทที่ 4)
แต่งเมื่อ พ.ศ. 2477
ประกาศใช้เพิ่มเติมจากเนื้อร้องเดิมในปีเดียวกัน
แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา
รวมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี
ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา
เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย
เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต
รักษาสิทธิ์อิสสระณแดนสยาม
ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม
ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
แม้ถึงภัยไทยด้อยจนย่อยยับ[note 2]
ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
ควรแก่นามงามสุดอยุธยา
นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี
เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย
มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้
ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสสระเสรี
เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น
ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย
มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงทั้งชาย
สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย

เครดิต วิกิพีเดีย